พัชรวิชญ์ (2544:
445) สรุปไว้ว่า การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมที่ตรงกับความเป็นจริงของปัญหา
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเปลี่ยนเจตคติของบุคลากร
และสามารถนำประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้แก้ปัญหาของงานที่ทำอยู่ให้บรรลุความสำเร็จตามความต้องการขององค์การ
อำนวย เดชชัยศรี (2542:
12) สรุปไว้ว่า
การฝึกอบรมเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจ
ความสามารถและเกิดทักษะจากประสบการณ์ตลอดจนเกิดเจตคติที่ดีและถูกต้องต่อกิจกรรมต่างๆ
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่มีผลต่อความเจริญขององค์การ
ตรงตามเป้าหมายของโครงสร้างที่ปรากฏในระบบงานเหล่านั้น
พงศ์ หรดาล (2539) ได้กล่าวว่า
การฝึกอบรมเป็นกิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะบุคคลเพื่อที่จะปรับปรุงและเพิ่มพูนความรู้
(knowledge) ทักษะ (skill) และทัศนคติ
(attitude) อันเหมาะสม
จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและทัศนคติต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิจิตร อาวะกุล (2537) กล่าวว่า
การฝึกอบรมเป็นกระบวนการที่ช่วยเพิ่มพูนความถนัด ความรู้ทางธรรมชาติ ทักษะ
หรือความชำนาญ ความสามารถของบุคคลให้มีเทคนิควิชาการ ในการทำงาน
เพื่อให้บุคลากรเกิดพฤติกรรมใหม่
หรือเพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง
การฝึกอบรมหมายถึง
การพัฒนาหรือฝึกฝนอบรมบุคคลให้เหมาะสมหรือเข้ากับงานหรือการทำงาน
Herbison & Myers
การฝึกอบรม
คือกระบวนการที่จะใช้เสริมความรู้ (Knowledge) ทักษะในการทางาน (Skill)
และความสามารถ (Capacity) ของบุคคลในสั่งคมหนึ่ง
ตัวอย่างเว็บไซต์การฝึกอบรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น