1. ประสบการณ์จากการทำงาน
การทำงานในสถานประกอบการแห่งนี้ มีประสบการณ์ให้เราเรียนรู้มากมาย อาทิ เช่น เพื่อนร่วมงาน มีทั้งคนที่คิดดีและคิดร้ายกับเรา คนที่คอยผลักดัน คนที่คอยให้กำลังใจ ส่วนในเรื่องของงาน ได้ความรู้แปลกใหม่ที่ไม่มีในห้องเรียน ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาทั้งแบบเฉพาะหน้าและแบบถาวร การได้คลุกคลีกับเครื่องมือ เครื่องจักรจริงที่ชีวิตนี้จะมีโอกาสได้สัมผัสแบบนี้อีกหรือเปล่า
ส่วนตัวผมเองได้ทำงานในส่วนของการบำรุงรักษาแม่พิมพ์ (Maintenance Mold) ได้เรียนรู้องค์ประกอบ กระบวนการทำงานของแผนกการบำรุงรักษาแม่พิมพ์ ปัญหาที่เกิดจากงานโดยมีแม่พิมพ์เป็นส่วนเกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น อลูมิเนียมติดแม่พิมพ์ สลักEjector pin หัก เป็นต้น จบ...
2. การเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning : WIL)
ในชีวิตผมครั้งแรกที่ได้เรียนโครงการ มันเป็นการเรียนรูปแบบใหม่ที่ไม่มีที่ไหนทำ ซึ่งผมเคยได้ยินแต่ เรียนแบบทวิภาคี หรือสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นการเรียนที่แตกต่างจากพวก อีกทั้งผมยังเป็นรุ่นแรกที่ได้เรียนโครงการแบบนี้ในระดับปริญญาตรี ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมา การเรียนมันแตกต่างจากที่เคยเจอมากๆ เป็นการเรียนแบบเรียน 1 วิชาจนจบแล้วสอบ แล้วถึงเริ่มเรียนวิชาใหม่และอีกอย่างหนึ่งคือ ได้ไปทำงานในโรงงานจริงเปรียบเสมือนพนักงานคนหนึ่ง ใช้ชีวิตไม่เหมือนในเด็กมหาลัยทั่วไป แต่มันก็ดีนะ ทำให้เราได้อะไรได้ตั้งหลายอย่าง และอยากให้ทุกคนที่เข้ามาอ่าน อยากให้ลองเรียนแบบนี้ดู แล้วจะรู้ว่าของเขาดีจริง จบ...
3. การใช้ชีวิตไกลบ้าน
การมาใช้ชีวิตในที่ที่เราไม่เคยมาอยู่ มาอยู่กับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทำให้เราต้องมีการปรับตัวและต้องเรียนรู้อะไรอีกมากมาย การสู้ชีวิตของคนไกลบ้าน สิ่งที่สำคัญคือ...กำลังใจจากคนที่อยู่ข้างหลัง ถึงแม้จะต้องอยู่ตัวคนเดียวตามลำพัง แต่สุดท้ายเราต้องสู้ ในเมื่อเราเลือกเดินในทางนี้ เส้นทางนั้นอาจจะไม่สวยหรู อาจจะไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้ อุปสรรคนานาประการที่ผ่านเข้ามาให้เจอทุกวัน มันคือแรงผลักดันให้เราต้องสู้ จบ....
ป๋าหรั่ง ECU
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ห้องเรียนและห้องฝึกอบรมในอนาคต
บรรยากาศห้องเรียน
บรรยากาศภายนอกห้องเรียน
ห้องเรียนในอนาคต คิดว่าน่าจะมีการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ห้องเรียนแบบใหม่ บรรยากาศน่าเรียน เป็นห้องเรียนแบบทันสมัย
สามารถเรียนได้หลายรูปแบบ มีภาพ แสง สี และเสียง สามารถสัมผัสได้จริง เรียนรู้ได้จริง สามารถค้นคว้าได้ทุกเรื่องที่ผู้เรียนต้องการรู้
ไม่ว่าจะเป็นการมาเรียนที่โรงเรียนโรงเรียนที่บ้าน มีครูสอนหรือไม่มีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนรู้ได้ แต่ที่จะขาดไม่ได้คือการเน้นให้ผู้เรียนมีความสัมพันธ์ต่อกัน มีกิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกัน
บรรยากาศภายในห้องเรียน
ห้องเรียนแบบใหม่ทันสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบรอบด้าน เกิดการเรียนรู้ที่ดี มีสื่อและอุปกรณ์ครบครัน ในทุกที่ ทุกโรงเรียน ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาข้อมูลที่ต้องการรู้ได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสถานที่ต่างๆ
กิจกรรมเน้นการบรูณาการ ครูผู้สอน หรือสื่อการสอนต่างๆ ควรมีความรู้หลากหลายวิชา เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะ มีความคิดรอบด้าน
***
สิ่งสำคัญ ห้องเรียนยุคใหม่นี้ต้องสามารถปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้ตลอดเวลา ไม่ย้ำอยู่กับที่ต้องสอนให้ผู้เรียนมีทั้งความรู้ควบคู่กับคุณธรรม ***
องค์ประกอบของห้องเรียนและห้องฝึกอบรมในอนาคต
1. สภาพห้องเรียนจะมีลักษณะอเนกประสงค์สามารถบูรณาการปรับใช้กับกลุ่มผู้เรียนได้ทั้งแบบเดี่ยว
กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ได้อย่างเหมาะสม
2. ลักษณะของห้องเรียนจะมีรูปแบบการผสมผสานระหว่างศูนย์สื่อโสตทัศนศึกษา (
Audio – Visual Center ) กับห้องสมุด( The Library )
3. สื่อที่จะเข้ามามีบทบาทต่อการเรียนยุคใหม่ได้แก่
- สื่อคอมพิวเตอร์ ( Computer ) , CD ROM
- สื่อวิดีโอปฏิสัมพันธ์ ( Interactive Video , Video Disk. ,
Video Text )
- สื่อการเรียนการสอนระบบทางไกล ( Telecommunications )
- สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างที่ทันสมัยและเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงมีความก้าวหน้า (
Hi-Tech )
- สื่อสิ่งพิมพ์ ( Printed ) ทั้งเอกสารที่เป็นรูปเล่มและแบบย่อส่วนลงในแผ่นบรรจุข้อมูลเช่น Microfilm
, Micro-card , Microfiche
4. ศาสตร์ทางการเรียนรู้ที่มีความสาคัญยิ่งต่อการศึกษายุคใหม่คือความรู้
ทักษะและความสามรรถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ( Computer Literacy
) ในระดับต่างๆ
5. ครูจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะ ( Tutor ) แหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย
รวมทั้งเป็นผู้คอยให้คำปรึกษาทางการเรียนแก่ผู้เรียน
ความหมายและความแตกต่างของ E- Learning CAI และ WBI
ความหมาย ของ E- Learning CAI และ WBI
การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) หมายถึง
การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based
learning) การเรียนรู้บนเว็บ (web-based
learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual
classrooms) และความร่วมมือดิจิทัล (digital
collaboration)เป็นต้น
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อาทิ อินเทอร์เน็ต (internet) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) การถ่ายทอดผ่านดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและวิดีทัศน์(audio/video
tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive
TV) และซีดีรอม (CD-ROM)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction
: CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์
ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน
แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
การเรียนการสอนด้วยเว็บไซต์(Web Based Instruction :WBI) หมายถึงการเรียนการสอนที่ใช้เวิลด์วายเว็บเป็นสื่อหรือตัวกลางในการเรียนการสอนร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนในลักษณะของบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหา รูปภาพประกอบ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผู้สอนและ ผู้เรียนสามารถใช้เว็บเพจ ในการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สืบค้น ตอบปัญหา ทำแบบฝึกหัด ข้อสอบ และกิจกรรมการเรียนการสอน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากจุดเชื่อมต่อเครือข่าย และการเชื่อมต่อระยะไกล ผ่านโมเด็มโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
E-learning เป็นเสมือนวิวัฒนาการของWBI
E-learning ต่างก็เป็นการผสมผสานระหว่าง web
technology กับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้
และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา (anywhere, anytime) ในการเรียน แต่เดิมการเรียนการสอนแบบ WBI มักจะเน้นเนื้อหาในลักษณะตัวหนังสือ (text-based) และภาพประกอบ หรือ วิดีทัศน์ที่ไม่ซับซ้อนเท่านั้น
ดังนั้นความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง WBI กับ E-learning นั้น แทบจะไม่มีเลย
CAI ทำงานภายใต้ Standalone หรือ อาจทำงานภายใต้ Local Area Network เพราะ CAI มิได้ออกแบบเพื่อการสื่อสารถึงกัน ใช้คอมพิวเตอร์ในการสื่อสาร
ใช้หรือไม่ใช้ Internet ก็ได้และจำกัดเนื้อหา
WBI สามารถทำการสื่อสารภายใต้ระบบ Multiuser ได้อย่างไร้พรมแดน โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกัน
อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ฐานข้อมูลความรู้ และยังสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาอิเลคทรอนิคส์
(Eletronic Education Data) อย่างไม่จำกัดเวลา
ไม่จำกัดสถานที่ ไม่มีพรมแดนกีดขวางภายใต้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ตัวอย่าง
E-learning
CAI
WBI
ความหมายของการฝึกอบรม
พัชรวิชญ์ (2544:
445) สรุปไว้ว่า การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมที่ตรงกับความเป็นจริงของปัญหา
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเปลี่ยนเจตคติของบุคลากร
และสามารถนำประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้แก้ปัญหาของงานที่ทำอยู่ให้บรรลุความสำเร็จตามความต้องการขององค์การ
อำนวย เดชชัยศรี (2542:
12) สรุปไว้ว่า
การฝึกอบรมเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจ
ความสามารถและเกิดทักษะจากประสบการณ์ตลอดจนเกิดเจตคติที่ดีและถูกต้องต่อกิจกรรมต่างๆ
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่มีผลต่อความเจริญขององค์การ
ตรงตามเป้าหมายของโครงสร้างที่ปรากฏในระบบงานเหล่านั้น
พงศ์ หรดาล (2539) ได้กล่าวว่า
การฝึกอบรมเป็นกิจกรรมการเรียนรู้เฉพาะบุคคลเพื่อที่จะปรับปรุงและเพิ่มพูนความรู้
(knowledge) ทักษะ (skill) และทัศนคติ
(attitude) อันเหมาะสม
จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและทัศนคติต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วิจิตร อาวะกุล (2537) กล่าวว่า
การฝึกอบรมเป็นกระบวนการที่ช่วยเพิ่มพูนความถนัด ความรู้ทางธรรมชาติ ทักษะ
หรือความชำนาญ ความสามารถของบุคคลให้มีเทคนิควิชาการ ในการทำงาน
เพื่อให้บุคลากรเกิดพฤติกรรมใหม่
หรือเพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง
การฝึกอบรมหมายถึง
การพัฒนาหรือฝึกฝนอบรมบุคคลให้เหมาะสมหรือเข้ากับงานหรือการทำงาน
Herbison & Myers
การฝึกอบรม
คือกระบวนการที่จะใช้เสริมความรู้ (Knowledge) ทักษะในการทางาน (Skill)
และความสามารถ (Capacity) ของบุคคลในสั่งคมหนึ่ง
ตัวอย่างเว็บไซต์การฝึกอบรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)